: Users Online

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

นักจิตวิทยาคลินิค



ศาสตร์ที่เรียกว่าจิตวิทยาซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์นั้น มีหลากหลายแง่มุมให้ศึกษาแตกแขนงไปเป็นจิตวิทยาสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการทดลอง จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาสังคม ฯลฯ ทำให้อาชีพนักจิตวิทยาจึงมีหลากหลายสาขาตามไปด้วย เช่น นักจิตวิทยาพัฒนาการ นักจิตวิทยาการทดลอง นักจิตวิทยาคลนิก นักจิตวิทยาสังคม ฯลฯ

“จิตวิทยาคลินิก” หมายความว่า การกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด ความผิดปกติทางจิต อันเนื่องมาจากภาวะจิตใจ บุคลิกภาพ ระดับเชาว์ปัญญา อารมณ์ พฤติกรรม การปรับตัว ความเครียดหรือพยาธิสภาพทางสมอง รวมทั้งการวิจัย การส่งเสริมและการประเมินภาวะสุขภาพทางจิตด้วยวิธีการเฉพาะทางจิตวิทยาคลินิก หรือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางจิตวิทยาคลินิกที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางจิตวิทยาคลินิก

สรุปก็คือ หน้าที่ของนักจิตวิทยาคลินิกเกี่ยวข้องกับการประเมินและวินิจฉัยทางจิตด้วยวิธีการทางจิตวิทยา เช่น การใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยา การสัมภาษณ์ การสังเกต เป็นต้น และการบำบัดทางจิตด้วยกลวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยทั้งรายบุคคลและแบบกลุ่ม การสะกดจิต (ซึ่งมีนักจิตวิทยาน้อยคนที่ศึกษาเรื่องนี้โดยตรงและสามารถทำการสะกดจิตได้) การใช้เทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือเทคนิคอื่นๆ แต่ก็ใช่ว่านักจิตวิทยาคลินิกทุกคนจะมีความสามารถทุกด้าน เพราะความสามารถบางด้านเป็นเรื่องของประสบการณ์และการศึกษาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องหลังจากเรียนจบ





ตัวอย่างลักษณะงานจิตวิทยาคลินิก เช่น นอกเหนือจากนักจิตวิทยาคลิกนิกที่ทำงานตามโรงพยาบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เรือนจำ สถานบำบัดผู้ติดยา ฯลฯ ยังมีนักจิตวิทยาสาขาอื่นๆ ที่ทำงานในสายงานจิตวิทยาแต่อาจจะไม่ได้เรียกตนเองว่านักจิตวิทยา เช่น ผู้ที่ทำงานในองค์กรธุรกิจซึ่งร่ำเรียนมาทางด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรม ครูหรืออาจารย์แนะแนวที่จบการศึกษาทางด้านจิตวิทยาการศึกษาหรือจิตวิทยาแนะแนว หรือนักวิจัยทางสังคมที่เป็นผู้ศึกษามาทางด้านจิตวิทยาสังคม เป็นต้น


การทำจิตบำบัด (Psychotherapy), การให้คำปรึกษา (Counseling) , การทำแบบทดสอบและประเมินสภาพทางจิต บุคลิกภาพ และ เชาวน์ปัญญา เป็นต้น

นักจิตวิทยาคลินิค-Psychologist

1 ความคิดเห็น: